ถามมา-ตอบได้

Latest Articles

วันจันทร์ที่ 7 มีนาคม พ.ศ. 2559

ข้อแท้จริงจากพระในวัดพระธรรมกาย 30 พรรษาแล้ว อันนี้สุดจริง แชร์ได้เต็มที่ 

จากข้อมูลใน http://www.partiharn.com/contents/147708/
เรื่องที่มโนใส่ร้ายหลวงพ่อ แล้วทำให้ชาวเน็ตเชื่อว่าเป็นจริง

สืบเนื่องจากการกล่าวหา ว่าร้ายพระธัมมชโยในด้านต่างๆ ข้อแท้จริงนี้จะทำให้ท่านได้ข้อมูลที่แท้จริง
อาตมา (อาสภกนฺโต ภิกขุ) เห็นอะไรบ้างที่ต่างจากเขา (นายมโน)

 ๑. หลวงพ่อเป็นผู้สมถะ ท่านเป็นต้นแบบในการดำรงชีวิตแบบพระอย่างแท้จริง กุฏิของหลวงพ่อหลังเล็ก ๆ มีเพียงห้องน้ำเล็ก ๆ ถังและขัน อย่างละใบ มีเตียงหนึ่งเตียง กับโต๊ะเขียนหนังสือ ในห้องจะโล่ง ไม่มีอะไรรกรุงรัง เพราะหลวงพ่อชอบความเป็นระเบียบเรียบร้อย


 ๒. หลวงพ่อเป็นผู้รักการปฏิบัติธรรม ทุกครั้งที่พวกเราไปนั่งธรรมะกับท่าน ท่านจะเป็นบุคคลแรกที่ไปถึงห้องปฏิบัติธรรม มีครั้งหนึ่งที่อาตมาและหมู่คณะได้มีโอกาสไปปฏิบัติธรรมที่ต่างจังหวัดกับท่าน อาตมาอุตส่าห์ว่าจะไปให้ถึงก่อนใครในช่วงเช้า ปรากฏว่า เมื่อเข้าไปในห้องปฏิบัติธรรม ในขณะนั้นเป็นเวลา ๐๔.๐๐ น. ก็พบหลวงพ่อท่านนั่งหลับตาอยู่ก่อนแล้ว เลยไม่ทราบว่าท่านมาตั้งแต่เมื่อไร และตลอดเวลาที่อยู่กับท่าน ท่านจะพูดอยู่ไม่กี่เรื่อง คือ เรื่องการปฏิบัติธรรม เรื่องหลวงปู่วัดปากน้ำ และเรื่องคุณยายอาจารย์

 ๓. หลวงพ่อมีความเป็นอัจฉริยะในด้านการปั้น แต่ท่านจะปั้นรูปของพระพุทธรูป และหลวงปู่ หลายครั้งที่ท่านจะเรียกลูก ๆ พระให้ไปช่วยกันปั้นท่านจะบอกเสมอว่า ใครปั้นเป็นแบบได้สวย หลวงพ่อจะเอาเป็นองค์ต้นแบบ
 (ดูเพิ่มเติมขั้นตอนการปั้นองค์ต้นแบบหลวงปู่ https://www.youtube.com/watch?v=HG8TShRJwvI)

 ๔. หลวงพ่อมีความเป็นอัจฉริยะในด้านอักษรศาสตร์ จากเดิมที่ท่านก็ไม่เคยเขียนโคลง กลอน แต่เมื่อมีผู้รู้มาแนะนำเพียง วันสองวัน หลวงพ่อเขียนโคลง กลอน ออกมาสอนลูกได้เป็นเล่ม และคำสอนนั้น ล้วนแล้วแต่สอนให้ลูกพระลูกเณร อยู่ในเส้นทางของการสร้างบารมี

 ๕. หลวงพ่อเป็นผู้นำที่ใจกว้าง ไม่ใช่อย่างที่อดีตพระคนนั้นกล่าวหา หลวงพ่อท่านให้มีคณะกรรมการบริหารวัด ซึ่งอาตมาก็เป็นหนึ่งในผู้บริหารจึงกล้ากล่าวได้อย่างเต็มปากเต็มคำว่า หลวงพ่อไม่เคยเข้ามาก้าวก่ายการทำงานของคณะกรรมการบริหารเลย มีแต่คณะกรรมการบริหารด้วยซ้ำที่มักจะเข้าไปขอคำแนะนำจากท่าน

 ๖. หลวงพ่อเป็นต้นแบบของความเคารพ ทุกครั้งที่หลวงพ่ออบรมลูก ๆ ท่านจะพูดยกตัวอย่าง พระสัมมาสัมพุทธเจ้า หลวงปู่วัดปากน้ำ คุณยายตลอดเวลา ยังจำได้ว่า ท่านเคยถามว่า พวกเราอ่านปฐมสมโพธิกถา(ซึ่งเป็นประวัติของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าโดยละเอียด) จบกันกี่รอบ อาตมาตอบท่านด้วยความภาคภูมิใจว่า อ่านจบสามรอบ หลวงพ่อท่านชมว่า ดีจัง แต่ภายหลังมีโอกาสสอบถามท่าน ท่านบอกว่า หลวงพ่ออ่านจบไม่ต่ำกว่า ๒๑ รอบ ท่านให้เหตุผลว่าเมื่อไรก็ตามที่อ่านประวัติของพระพุทธเจ้าจะทำให้ท่านเกิดกำลังใจในการสร้างบารมี


 ๗. หลวงพ่อเป็นต้นแบบในเรื่องความอดทน ลองนึกดูเถิดว่า หากเป็นเราแค่เจ็บป่วยนิดหน่อย ก็ต้องการพักแล้ว แต่นี่หลวงพ่อมีโรคประจำตัวหลายอย่าง ทั้งขาก็เจ็บ แต่ด้วยความเมตตา ยังมาลงสอนธรรมะให้กับลูก ๆทุกวัน และตั้งแต่สร้างวัดมาจนถึงปัจจุบัน หลวงพ่อไม่เคยอยู่นิ่งเฉย ทำทุกสิ่งกับลูก ๆ และหลายครั้งที่ท่านมาร่วมลอกคลองกับลูกพระลูกเณรโดยไม่ได้ คิดว่าฉันเป็นเจ้าอาวาสฉันจะทำสิ่งเหล่านี้ไม่ได้ ฯลฯ

 อาตมาคิดว่า สิ่งที่ยกตัวอย่างมานี้เป็นเพียงแค่เสี้ยวหนึ่งในคุณธรรมของหลวงพ่อที่ขอยกมาให้ดู ส่วนว่าเมื่ออ่านแล้วจะเชื่อหรือไม่ก็อยู่ที่มุมมองและวิจารณญาณของผู้อ่านว่าจะเชื่อใคร ระหว่างผู้ที่อ้างตนว่าเป็นศิษย์คนสำคัญแต่ไม่เคยอยู่จำพรรษาที่วัด ไม่เคยเป็นคณะกรรมการบริหาร ไม่เคยได้รับการยอมรับจากใคร แม้เมื่อออกจากวัด ไปอยู่ที่ไหนก็อยู่กับเขาได้ไม่นาน ถูกขับออกจากวัดทุกแห่ง จนในที่สุดต้องลาสิกขาไป ที่วัดพระธรรมกาย หลวงพ่อไม่เคยมีศิษย์คนสำคัญ เพราะท่านรักลูกทุกรูปทุกคนเท่ากัน เพราะฉะนั้นจึงไม่ใช่เพียงแค่อาตมาเท่านั้นแต่ทุกรูปทุกคน ทุ่มเทชีวิตจิตใจให้กับการเผยแผ่งานพระพุทธศาสนาแบบเอาชีวิตเป็นเดิมพัน ก็เพราะยึดถือหลวงพ่อเป็นต้นแบบนั่นเอง

อาสภกันโต ภิกขุ


Continue reading

วันเสาร์ที่ 5 มีนาคม พ.ศ. 2559

สื่อกับคดีพระ

1. ประเทศไทยเป็นเมืองพุทธ แต่ในปัจจุบันมีสื่อมวลชนบางสื่อชอบนำเสนอข่าวย่ำยีพระภิกษุสงฆ์ 
การกระทำอย่างนี้เข้าข่าย อริยุปวาท  หรือ การว่าร้ายผู้ประเสริฐ หรือไม่อย่างไร
        สื่อส่งผ่านสาร ใกล้ คนคาดหวัง สื่อมีทั้งดีไม่ดีและกลางๆ พระก็มีทั้งพระสุปฏิปันโน พระทั่วๆ ไป และพระที่ทุศีล สื่อดีๆ ก็มีนำเสนอภาพพระดีๆ ออกไปให้โลกได้รู้(แต่ว่าอยู่ด้านในไม่ใช่ front page) สื่อกลางๆ ก็นำเสนอภาพพระออกไปซึ่งส่วนใหญ่ก็แค่เล่าเหตุการณ์ว่าพระท่านไปทำอะไรยังไงเท่านั้น แต่เนื่องจากว่า ข่าวส่วนใหญ่ก็มักจะเป็นเรื่องของพระทุศีล แต่ในกรณีนี้คิดว่าคงอยากจะเน้นไปที่สื่อที่ไม่ค่อยดีนัก ประเภทที่ชอบสร้างกระแสชี้นำสังคม(ป้ายสี) ให้กับพระดีๆ สุปฏิปันโน

2. ในฐานะพุทธบุตร ท่านคิดอย่างไรการนำเสนอข่าวพระเฉพาะมุมที่เสียหายเพียงมุมเดียว
         จุดขาย บท ข้ามสาย ต้องมาดูว่าสื่อมี theme หรือรูปแบบของตัวเองอยู่ ซึ่งเป็นจุดขายของสื่อแต่ละสำนัก บางสำนักที่นำเสนอข่าวเฉยๆ โดยที่ไม่เติมความเห็นของตัวเอง หรือพยายามชี้นำสังคมมากเกินไปนักก็ต้องยอมรับในมาตรฐานของเขา แต่สื่อบางเจ้าก็ตั้งใจเกาะติดสร้างภาพปั่นกระแสให้ภาพที่เสียหายเพียงแค่มุมเดียวก็คงจะต้องช่วยกันปราม หรือหากเป็นไปได้ก็อย่าไปช่วยเสพ หรือหากมีช่องให้แสดงความเห็นใต้ข่าวก็ควรจะต้องไปช่วยกันทำความจริงให้ปรากฎโดยการให้ความเห็นชี้แจง 

สื่อ-สติ
1.ทุกวันนี้จากสถิติพบว่าคนไทยนิยมใช้สื่อโซเซียลมีเดีย โดยเฉพาะ Facebook เป็นอันดับต้นๆ ของโลก หากใช้ไม่ระมัดระวังจะทำให้เกิดการบิดเบือนข้อมูลข้อเท็จจริงทำให้คนอื่นเข้าใจผิดและได้รับความเดือนร้อนได้ง่าย ท่านมีความคิดเห็นอย่างไร
        6 degree of separation โลกแคบ คนต้องการตัวตน รับเร็ว จ่ายเร็ว รถเร็ว รับสารไม่ครบ คนไม่มีองค์ความรู้ ถูกชี้นำได้ Fb ก็เป็นช่องทางหนึ่งซึ่งผู้คนใช้พูดคุยกันและเชื่อมต่อกันในสังคมเสมือน มีเครือข่ายโยงใยไปทั่วโลก ทำให้โลกเดี๋ยวนี้แคบลงมากๆ สามารถส่งผ่านข้อมูลหากันได้อย่างสะดวก ดังนั้น ยิ่งสะดวกมากเท่าไหร่ก็ยิ่งต้องระวังมากเท่านั้น เป็นคนในยุคข่าวสารต้องหมั่นรักษาสติในการรับข้อมูล(ซึ่งมีเยอะและจะเข้ามาหาเราอย่างเร็วมาก)   เช่นยิ่งขับรถเร็วเท่าไหร่มุมมองจะแคบลงเท่านั้น อะไรที่เร็วๆ ก็ควรจะต้องดึงจังหวะเอาไว้บ้าง ดังนั้นรับข้อมูลข่าวสารอะไรแล้วก็ขอให้หาข้อมูลเพิ่มเติม เพื่อทำความเข้าใจ อีกอย่างหากเราสนใจในข่าวหรือเรื่องราวนั้นๆ แสดงว่าเป็นเรื่องที่เราสนใจอยู่แล้ว คงไม่เสียหายอะไรหากจะหาข้อมูลเพิ่มเป็นความรู้ติดขาติดแข้งเรารับข้อมูลมาง่ายและเร็ว ดังนั้นการหาข้อมูลก็ง่ายและเร็วเช่นกัน "ต้องเช็คทุกครั้งก่อนแชร์”

2.สื่อมวลชนควรแสดงบทบาทของตนที่เกี่ยวกับ จรรยาบรรณ หลักกฎหมาย กับ หลักกฎแห่งกรรม อย่างไรบ้าง
        สื่อก็น่าจะต้องทำตามหน้าที่ของตนให้ดี จรรยาบรรณ รักษาเกียรติ และความดี ทุกคนมีกฎครอบ จรรยาบรรณสื่อก็ควรจะทำความเข้าใจเรื่องราวในสายงานของตนอย่างแท้จริง เพราะจรรยาบรรณกำหนดขึ้นมาเพื่อรักษาและส่งเสริมเกียรติ หากเข้าใจเรื่องราวก็ส่งต่อเรื่องราวนั้นๆ ไปยังผู้รับสารที่สนใจ หรือเพื่อให้ความรู้กับคนที่ยังไม่ทราบ ดังนั้นจรรยาบรรณสำคัญมาก เพราะหากคิดจะบิดเรื่องสร้างข่าว ผู้ที่ยังไม่ทราบเรื่องราวในสายงานนั้น(น่าจะเป็นส่วนใหญ่ของประเทศ) จะเข้าใจผิดๆ ดังนั้นหากเรื่องที่บิดๆ นั้นกระทบจนทำให้ต้นแหล่งของข่าวเสียหาย ทีนี้กฎหมายก็จะเข้ามามีส่วน แต่กฎหมายก็อาจจะมีช่องโหว่ทำให้ผู้ที่ทำผิดไม่ต้องรับผลของสิ่งที่ตนทำอันเนื่องมาจากคนในปัจจุบันไม่อยากจะมีปัญหากับคนที่มีสื่ออยู่ในมือก็อาจทำให้ผู้ที่ดำเนินวิชาชีพสื่อย่ามใจ  แต่ไม่ว่าจะอย่างไรก็ตามกฎแห่งกรรมยุติธรรมเสมอ เราทำสิ่งใดไว้ก็ตาม เราต้องได้รับผลแห่งสิ่งที่ทำนั้น

คำถามเรื่องหน้าที่ของสื่อมวลชน

1. การนำเสนอข่าวที่บิดเบือนของสื่อมวลชน หากผู้คนได้รู้ความจริงในภายหลังจะทำให้สื่อมวลชนนั้นขาดความน่าเชื่อถือ และอาจส่งผลกระทบให้ผู้คนไม่สนับสนุนกิจการของสื่อมวลชนนั้นได้ ดังนั้นสื่อมวลชนควรคำนึงถึงผลกระทบในระยะยาวเพื่อความอยู่รอดของกิจการอย่างไร
       “สื่อต้องการความน่าเชื่อถือ” การบิดข่าวทำลายความน่าเชื่อถือ ใครทำผิดก็ชี้ขุมทรัพย์ ชี้ความจริงให้ทั้งสื่อและคนรับสื่อ ได้มีสติมากขึ้น หากบิดเบือนแล้วมีคนทักท้วงหรือจับได้ว่าบิดเบือน ซึ่งในยุคนี้ทำได้ไม่ยากนักหากคนรับสารมีสติและหมั่นเสาะหาความรู้เพิ่ม และที่สำคัญที่สุดต้อง”ไม่มีอคติ” การบิดข่าวคือการทำลายความน่าเชื่อถือของสื่อโดยตรงซึ่งเป็นสิ่งที่สื่อต้องรักษายิ่งชีวิต ใครที่ทรยศอุดมการณ์และจรรยาบรรณก็คงจะเจริญในเส้นทางที่ตัวเองทำนี้ได้ยาก

2.ท่านคิดว่ามีแนวทางไหนที่จะช่วยให้สื่อมวลชนของไทยกลับมาทำหน้าที่ของตนเองอย่างถูกต้อง และมีจรรยาบรรณวิชาชีพที่แท้จริงได้
       เกียรติและจุดยืนเป็นสิ่งที่ต้องรักษา สื่อก็ต้องรักษาเกียรติและที่สำคัญที่สุดจุดยืนของการเป็นสื่อที่ดีก็คือ รับมาอย่างไรก็สมควรจะส่งต่อไปเช่นนั้นไม่แต่งเติมเสริมโดยการใส่ความคิดเห็นของตนเองลงไปจนมากเกินงาม   (จะไม่ให้ใส่ความรู้สึกลงไปสำหรับบางสื่อคงเป็นไปได้ยาก) หากต้องใส่ความเห็นก็ควรจะเป็นความเห็นที่ดี ถูกต้องเพื่อรักษาเกียรติของตน โดยปราศจากอคติครอบงำ เคยเจอสื่อหลายๆ ท่านที่ทำหน้าที่ของตนได้อย่างยอดเยี่ยมมากๆ คือแยกความเห็นส่วนตัวออกจากการทำงานได้ สื่อแบบนี้น่าชื่นชมและสนับสนุนมากๆ หากใครเจอก็ช่วยสนับสนุนด้วย

***สิ่งที่ฝากถึงผู้อ่าน

ตอนนี้ยุคนี้แทบจะเรียกได้ว่าทุกคนมีสื่ออยู่ใกล้ตัวมากๆ หรืออาจจะเป็นสื่อเสียเอง รายการข่าวก็ต้องปรับตัวเอาเรื่องที่คนสนใจขึ้นมานำเสนออยู่บ่อยๆ หากเป็นข้อมูลที่ถูกต้องและนำเสนออย่างตรงไปตรงมาก็ไม่เป็นปัญหา แต่ถ้าเมื่อไหร่มีการเติมความเห็นส่วนตัวลงไปมากเกินรวมไปถึงการหาข้อมูลเข้ามาประกอบการนำเสนอของสื่อมีไม่เพียงพอ ตรงนี้จะเป็นปัญหาได้ 

โดยสรุปก็คือสื่อก็ควรทำหน้าที่อย่างตรงไปตรงมา คนรับข่าวสารก็ควรที่จะพิจารณาก่อนจะใส่ความเห็นหรือว่าส่งต่อ เพื่อป้องกันการสูญหายหรือว่าถูกแต่งเติมโดยตัวเราเองหรือว่าโดยสื่อ ยิ่งการติดต่อสื่อสารมีความรวดเร็วมากเท่าไหร่ก็ควรจะต้องระมัดระวังทั้งการรับและการส่งข่าวสารอยู่เสมอ

-โ-ส-ตฺ-ถี-


Continue reading